หลุยส์ ปาสเตอร์
“ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” เป็นพุทธภาษิตบทหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นตัวมหาภัยอย่างหนึ่งที่บั่นทอนชีวิตจิตใจ และร่างกาย แต่คนเราก็หนีโรคร้ายไปไม่พ้น มันคอยแทรกแซงเบียดเบียนอยู่เสมอ จึงต้องป้องกัน ถ้าป้องกันไม่ได้ก็ต้องเยียวยารักษากัน แพทย์ทั่วโลกก็พยายามค้นคว้าหาทางพิชิต หรือกำหลาบให้อยู่มือ แต่ก็ยังมีบางโรคที่ยังไม่อาจจะพิชิตมันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ คือ มะเร็ง แต่ปัจจุบันก็สามารถรักษาได้แล้วเมื่อพบในระยะแรกๆ
หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนามของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวฝรั่งเศส เขาเป็นผู้ที่ทำให้ชาวโลกรอดพ้นจากโรคระบาดร้ายแรงต่างๆ ด้วยการทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้กับงานด้านนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก มรดกที่เขาทิ้งไว้ก็คือ ทางแก้และป้องกันโรคระบาด และโรคร้ายบางชนิด
เขาเกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1822 (พ.ศ.2365) ที่ตำบลจูรา เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นบุตรชายคนเดียวของ จัง โจเซฟ ปาสเตอร์ ช่างฟอกหนัง เขาได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากบิดา โดยเฉพาะในด้านการศึกษาจากโรงเรียนมีชื่อ และเมื่อเรียนจบวิชาสามัญ เขาก็ถูกส่งไปเรียนฝึกหัดครู ณ กรุงปารีส วิชาที่เขาสนใจมากที่สุดก็คือ เคมี วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เมื่อเรียนสำเร็จแทนที่เขาจะโดดไปเป็นครู เขากลับไปเป็นผู้ช่วยนักเคมีในห้องทดลอง เพื่อทำปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางวิชาเคมีและฟิสิกส์ แล้วเขาก็ทำสำเร็จในปี ค.ศ.1847 (พ.ศ.2390)
ค.ศ.1848 (พ.ศ.2391) ได้เป็นศาสตราจารย์สอนวิชาเคมีอยู่ ณ มหาวิทยาลัย ที่เมืองซอร์มอนน์
ค.ศ.1852 (พ.ศ.2395) ได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันอีโคเลนนอร์มาล ที่กรุงปารีส
ทางด้านประดิษฐ์คิดค้น หลุยส์ปาสเตอร์ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองด้วยการประดิษฐ์วัตถุทางเคมีคือ ผลึก และผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับเหรียญเกียรตินิยม ได้รับรางวัลอื่นๆและเงินทองอีกมาก พร้อมกันนี้เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางวิชาเคมีในมหาวิทยาลัยสตาสบูร์ก จากห้องทดลองของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขาได้ค้นพบสาเหตุที่ทำให้วัตถุบูด แล้วเขาก็ประกาศความสำเร็จให้ชาวโลกรับรู้
หลุยส์ ปาสเตอร์ จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ก่อกำเนิดวิชาจุชีววิทยา เขาเป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นภัยและเป็นประโยชน์ ส่วนที่เป็นภัยก็ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ ส่วนที่เป็นประโยชน์ก็คือ เชื้อบูดที่เรียกว่า ยีสต์ ที่ทำให้ขนมปังฟู หรือทำเบียร์ทำเหล้า
เกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆ หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้จำแนกลักษณะการแพร่พันธ์ รูปร่าง และพิษร้ายของมัน เช่น อหิวาตกโรค วัณโรค บาดทะยัก โรคคอตีบ(มักเป็นกับเด็ก) โรคกลัวน้ำ (พิษสุนัขบ้า) นอกจากนี้ยังคิดหาวิธีป้องกันและรักษาโรคระบาดที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง
ในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้จักตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นประโยชน์ในการค้นคว้าทางเคมีให้เจริญกว้างขวางออกไป
เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ ประสบความสำเร็จในด้านการค้นพบจุลินทรีย์แล้ว เขาก็กลายเป็นบุคคลสำคัญของโรงงานผลิตเบียร์ ผลิน้ำส้ม ผลิตเหล้าองุ่น เพราะก่อนหน้านี้ เจ้าของโรงงานผลิตต้องประสบกับปัญหารสชาติสินค้าที่ผลิตออกมา เช่นเหล้าองุ่นขมไปบ้าง เปรี้ยวไปบ้าง หลุยส์ปาสเตอร์ ต้องเป็นผู้มาแก้ปัญหาเหล่านี้ดังจะยกตัวเองให้เห็น เช่น :-
ปัญหาเรื่องรสของเหล้าองุ่น พระเจ้านโปเลียนที่ 3 มีรับสั่งให้หลุยส์ ปาสเตอร์มาแก้ปัญหาให้มีรสชาติถูกพระราชหฤทัย หลุยส์ ปาสเตอร์ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์สำรวจเหล้าองุ่น เขาก็พบว่า ในเหง้าองุ่นนั้นมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์อยู่หลายชนิด วิธีแก้ไขก็คือทำให้เหล้าองุ่นร้อน 55 องศาเซนติเกรต เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ แล้วหลุยส์ ปาสเตอร์ก็กราบทูลวิธีแก้ไข ปรากฏว่าเหล้าองุ่นที่บรรทุกเรืออกไป ทดลองตามกรรมวิธีของหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ผล คือ เหล้าที่อุ่นตามกรรมวิธีของหลุยส์ ปาสเตอร์มีรสอร่อย ส่วนเหล้าที่คงสภาพเดิมเสียหมด ความสำเร็จของเขาทำให้พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ทรงโปรดปรานเขามาก
หลุยส์ ปาสเตอร์ จะได้รับความสำเร็จให้คนส่วนมากยอมรับนับถือเขา ต้องพิสูจน์หรือทดลองให้เห็นจริงแทบทุกครั้ง เช่นเมื่อเกิดโรคระบาดเขาต้องทำเซรุ่มฉีดป้องกันสัตว์ที่ยังไม่ป่วยและวิธีที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อถือก็ต้องปล่อยสัตว์ที่ฉีดยาคุ้มกันโรคครึ่งหนึ่ง กับที่ไม่ได้ฉีดครึ่งหนึ่งเข้าไปในที่ๆเกิดโรคระบาด เพื่อให้ชาวบ้านศรัทธา ปรากฏว่าสัตว์ที่ได้การรับการฉีดเซรุ่มไม่เจ็บป่วยล้มตาย ส่วนตัวที่ไม่ได้ฉีดล้มตายหมด
งานสำคัญของเขาอีกอย่างหนึ่งก็คือ กำจัดโรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ แต่เดิมทีนั้นเมื่อโรคระบาดนี้ไม่มีทางแก้ สุนัขที่สงสัยว่าเป็นบ้าก็จะถูกยิงทิ้ง หลุยส์ ปาสเตอร์ได้ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าอยู่นาน จนถึงขั้นการทดลอง แต่เขายังไม่แน่ใจที่จะทำการทดลอง โชคก็เข้าข้างเขา บังเอิญเด็กคนหนึ่งถูกสุนัขบ้ากัด บิดาของเด็กคนนั้นยินยอมให้เขาทดลองยา ปรากกว่าเด็กคนนั้นหายป่วยและความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงก็ตกเป็นของเขา
อันที่จริงหลุยส์ ปาสเตอร์ ไม่คิดว่าตัวเองจะแสวงหาชื่อเสียงในด้านนี้เพราะใจจริงขิงเขานั้นรักทางศิลปิน เคยตั้งใจว่าจะสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองทางดานนี้ แต่เขากลับเปลี่ยนใจ หันมาเอาดีทางการแพทย์
เขาจึงเป็นอีกคนหนึ่งที่ เป็นแบบฉบับผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชน บุรุษผู้พิชิตโรคร้ายผู้นี้ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8กันยายน ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) รวมอายุได้ 73 ปี ก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตเพียงสามปี คือเมื่อเอามีอายุครบเจ็ดสิบปี นักวิทยาสาสตร์ทั่วยุโรปเดินทางไปอวยพรที่ปารีส นับเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกเช่นเดียวกับเขา
ที่มา: http://writer.dek-d.com/oshitari/story/viewlongc.php?id=417778&chapter=16
การค้นพบของหลุยส์ปาสเตอร์
ที่มา: http://writer.dek-d.com/oshitari/story/viewlongc.php?id=417778&chapter=16
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น